นายฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ รองประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า สมาคมฯ ต้องการให้ภาครัฐเร่งออกมาตรการเยียวยาให้กับผู้บริโภค ทั้งระดับบนและระดับฐานราก อาทิ การนำมาตรการคนละครึ่ง หรือช้อปดีมีคืนกลับมาใช้อีกครั้ง รวมถึงมาตรการบรรเทาผลกระทบของต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการจ้างงาน เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถจ้างงานได้เพิ่มมากขึ้น เกิดการจ้างงานแบบยืดหยุ่น เช่น การจ้างงานรายชั่วโมง เป็นต้น เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนต่อไปได้อย่างเข้มแข็ง
ทั้งนี้ จากผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการค้าปลีกประจำเดือน ต.ค.65 ที่ผ่านมา พบว่า ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกขยับเพิ่มขึ้นเพียง 1.3 จุด เมื่อเทียบกับดัชนีเดือน ก.ย. ซึ่งเมื่อพิจารณาการบริโภคตามประเภทร้านค้า พบว่าความเชื่อมั่นของผู้ประกอบห้างสรรพสินค้า, ร้านไฮเปอร์มาร์เกต, ร้านอาหาร ปรับเพิ่มขึ้น จากการแข่งขันด้านกลยุทธ์และราคาเพื่อกระตุ้นยอดขายในเดือนที่มีวันหยุดยาว สะท้อนถึงความแข็งแกร่งของกำลังซื้อระดับบนคำพูดจาก pg เว็บตรง
ขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการร้านซูเปอร์มาร์เกต และร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ปรับลดลง จากสถานการณ์ฝนตกชุกและอุทกภัยในบางพื้นที่ บ่งบอกถึงผู้บริโภคกำลังซื้อระดับฐานรากในต่างจังหวัดยังอ่อนแอ และจากการสำรวจยังพบอีกว่า ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ธุรกิจ 61% ต้องลดระดับการจ้างงานลง สะท้อนถึงผลกระทบจากการแพร่ระบาดที่ค่อนข้างรุนแรง ขณะที่หลังการผ่อนคลายความเข้มงวด ธุรกิจกว่า 48.8% ยังไม่ฟื้นตัว ยังมีการจ้างงานในระดับต่ำกว่าเดิม 10-20% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนวิกฤติโควิด ดังนั้น ภาครัฐควรต้องใส่มาตรการต่างๆ ทั้งการกระตุ้นการจับจ่ายและส่งเสริมธุรกิจให้ฟื้น
ทั้งนี้ ยังมีบทสรุปประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ “การฟื้นตัวของธุรกิจภาคการค้า” ของผู้ประกอบการที่สำรวจระหว่างวันที่ 14-22 ตุลาคม 2565 ดังนี้
- ประเมินผลกระทบด้านต้นทุนการดำเนินธุรกิจ
ผลจากการขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (FT) และการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ กดดันให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น
- 34% ระบุว่า ต้นทุนเพิ่มขึ้นไม่เกิน 5%
- 49% ระบุว่า ต้นทุนเพิ่มขึ้น 5-10%
- 12% ระบุว่า ต้นทุนเพิ่มขึ้น 11-15%
- 4% ระบุว่า ต้นทุนเพิ่มขึ้นกว่า 15%
- ประเมินการฟื้นตัวของธุรกิจจากการจ้างงาน
- ธุรกิจ 61% ต้องลดระดับการจ้างงานในช่วงวิกฤติโควิดสะท้อนถึงผลกระทบจากโควิดค่อนข้างรุนแรง
- ธุรกิจ 48.8% ยังไม่ฟื้นตัวหลังการผ่อนคลายความเข้มงวด ยังมีการจ้างงานในระดับต่ำกว่าเดิม 10-20% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด
- ประเมินการฟื้นตัวของธุรกิจ
- ธุรกิจ 62% ประเมินว่ากำลังซื้อของปีนี้จะขยายตัวดีขึ้นเมื่อเทียบปีที่ผ่านมา
- ธุรกิจ 70% ประเมินว่ากำลังซื้อไตรมาสสุดท้ายของปีนี้จะขยายตัวดีกว่าไตรมาสที่ผ่านมา
- ธุรกิจ 44% มีสภาพคล่องเพียงพอมากกว่า 12 เดือน